รฟม. ร่วมสืบสานงานประเพณีชักพระวัดนางชี ส่งเสริม - อนุรักษ์วัฒนธรรมอันทรงคุณค่า
Item
ชื่อเรื่อง
รฟม. ร่วมสืบสานงานประเพณีชักพระวัดนางชี ส่งเสริม - อนุรักษ์วัฒนธรรมอันทรงคุณค่า
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
เสมอใจ มณีโชติ
วันที่
2565-23-11
รายละเอียด
“งานชักพระวัดนางชี” หรือที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ” เป็นงานบุญประจำปีของชาวฝั่งธนบุรี ที่ถือปฏิบัติกันมาเป็นเวลานาน โดยจะจัดขึ้นในวันแรม 2 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี ณ วัดนางชี ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ริมคลองด่าน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
โดยทางวัดจะอันเชิญ พระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธสาวก ขึ้นประดิษฐานบนบุษบก แล้วแห่ไปทางเรือ เริ่มจากหน้าวัดนางชี ไปตามลำคลองด่าน เลี้ยวซ้ายออกไปตามคลองบางกอกใหญ่ และผ่านมาช่วงปลายคลองซึ่งเรียกว่าคลองชักพระ แล้วอ้อมไปทะลุคลองบางกอกน้อย ล่องขบวนไปตามคลองบางกอกน้อย ไปออกปากคลองบางกอกน้อยเลี้ยวขวาเรียบตามลำน้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) แล้ววกมาเข้าปากคลองด่านกลับไปยังวัดนางชีตามเดิม ซึ่งการแห่ลักษณะนี้ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “แห่อ้อมเกาะ”
นอกจากนั้น ยังมีเรือที่มาร่วมขบวนหลายแบบ บ้างก็แต่งเป็นตัวตลกเช่นใส่หัวล้านทั้งลำ หรือจัดให้มีการเล่นละคร ลิเก เพลง ในเรือ เป็นการสนุกสนานรวมถึงเรือลากจูงเรือพระบรมสารีริกธาตุ ที่ตกแต่งหัวเรือและท้ายเรือไว้อย่างสวยงาม เช่น เป็นหัวสุครีพ หงส์ ส่วนเรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจะเป็นเรือต่อขนาดใหญ่ตกแต่งอย่างสวยงาม มีวงปี่พาทย์บรรเลงสมโภชไปในเรือตลอดทาง
ในขณะที่ขบวนแห่เคลื่อนไปเมื่อถึงสะพานใดจะอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นจากเรือ ให้คนถือเดินข้ามสะพานไปลงเรือทางอีกด้านหนึ่งตลอดทาง และเปิดโอกาสให้คนบริเวณนั้นลงมาสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุในเรือ ขณะที่หยุดพักจะมีการละเล่น การแข่งกันอย่างสนุกสนาน ระยะต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เรือยนต์จูงเรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แต่การละเล่นที่สนุก สนานก็ยังคงมีอยู่ และชาวบ้านที่อยู่สองฝั่งคลองเมื่อถึงวันงานจะออกมารอนมัสการที่ท่าน้ำหน้าบ้านกันเนืองแน่น
ที่มา : เสมอใจ มณีโชติ. (25 พฤศจิกายน-1ธันวาคม 2562). รฟม. ร่วมสืบสานงานประเพณีชักพระวัดนางชี ส่งเสริม - อนุรักษ์วัฒนธรรมอันทรงคุณค่า. BLT BANGKOK, 1.
โดยทางวัดจะอันเชิญ พระบรมสารีริกธาตุและพระพุทธสาวก ขึ้นประดิษฐานบนบุษบก แล้วแห่ไปทางเรือ เริ่มจากหน้าวัดนางชี ไปตามลำคลองด่าน เลี้ยวซ้ายออกไปตามคลองบางกอกใหญ่ และผ่านมาช่วงปลายคลองซึ่งเรียกว่าคลองชักพระ แล้วอ้อมไปทะลุคลองบางกอกน้อย ล่องขบวนไปตามคลองบางกอกน้อย ไปออกปากคลองบางกอกน้อยเลี้ยวขวาเรียบตามลำน้ำเจ้าพระยา เข้าคลองบางกอกใหญ่ (คลองบางหลวง) แล้ววกมาเข้าปากคลองด่านกลับไปยังวัดนางชีตามเดิม ซึ่งการแห่ลักษณะนี้ชาวบ้านมักเรียกกันว่า “แห่อ้อมเกาะ”
นอกจากนั้น ยังมีเรือที่มาร่วมขบวนหลายแบบ บ้างก็แต่งเป็นตัวตลกเช่นใส่หัวล้านทั้งลำ หรือจัดให้มีการเล่นละคร ลิเก เพลง ในเรือ เป็นการสนุกสนานรวมถึงเรือลากจูงเรือพระบรมสารีริกธาตุ ที่ตกแต่งหัวเรือและท้ายเรือไว้อย่างสวยงาม เช่น เป็นหัวสุครีพ หงส์ ส่วนเรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจะเป็นเรือต่อขนาดใหญ่ตกแต่งอย่างสวยงาม มีวงปี่พาทย์บรรเลงสมโภชไปในเรือตลอดทาง
ในขณะที่ขบวนแห่เคลื่อนไปเมื่อถึงสะพานใดจะอันเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นจากเรือ ให้คนถือเดินข้ามสะพานไปลงเรือทางอีกด้านหนึ่งตลอดทาง และเปิดโอกาสให้คนบริเวณนั้นลงมาสรงน้ำพระบรมสารีริกธาตุในเรือ ขณะที่หยุดพักจะมีการละเล่น การแข่งกันอย่างสนุกสนาน ระยะต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้เรือยนต์จูงเรือที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ แต่การละเล่นที่สนุก สนานก็ยังคงมีอยู่ และชาวบ้านที่อยู่สองฝั่งคลองเมื่อถึงวันงานจะออกมารอนมัสการที่ท่าน้ำหน้าบ้านกันเนืองแน่น
ที่มา : เสมอใจ มณีโชติ. (25 พฤศจิกายน-1ธันวาคม 2562). รฟม. ร่วมสืบสานงานประเพณีชักพระวัดนางชี ส่งเสริม - อนุรักษ์วัฒนธรรมอันทรงคุณค่า. BLT BANGKOK, 1.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
ประเพณีชักพระวัดนางชี
งานแห่พระบรมสารีริกธาตุ
คลองชักพระ
วัดนางชี
วัดนางชีโชติการาม
ความเป็นอยู่และประเพณี
คอลเลกชั่น
เสมอใจ มณีโชติ, “รฟม. ร่วมสืบสานงานประเพณีชักพระวัดนางชี ส่งเสริม - อนุรักษ์วัฒนธรรมอันทรงคุณค่า”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565-23-11, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/research/item/2513