สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขุนนางผู้ ‘ทรงอิทธิพล’ แห่งรัตนโกสินทร์
Item
ชื่อเรื่อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขุนนางผู้ ‘ทรงอิทธิพล’ แห่งรัตนโกสินทร์
ประเภท
บทความ
ผู้แต่ง
วิภา จิรภาไพศาล
วันที่
2565-25-11
รายละเอียด
เรื่องนี้ต้องตามอ่านในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมกราคม ๒๕๖๔ ที่ วิภัส เลิศรัตนรังษี ค้นคว้าข้อมูลมาเรียบเรียงไว้ในบทความที่ชื่อว่า “อวสานสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)” แต่ก่อนจะไปดู “ตอนอวสาน” ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ เราไปดูตอนอื่นที่ วิภัส เลิศรัตนรังษี นำเสนอก่อน เริ่มจาก “ฐานที่มั่น” สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมเด็จเจ้าพระยาฯ บิดาของท่านคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) สมุหพระกลาโหมใน สมัยรัชกาลที่ ๓ เมื่อบิดาท่านสิ้น สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ว่าราชการกรมพระกลาโหมแทน ปลายรัชกาลที่ ๔ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค, ๒๓๓๔-๒๔๐๐) ถึงแก่พิราลัย และพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒๓๕๑-๒๔๐๘) สวรรคต สมเด็จเจ้าพระยาฯ ขณะเป็น “เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์” สามารถรวบอำนาจการนำในรัฐบาลได้สำเร็จ เมื่อรัชกาลที่ ๔ สวรรคต วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๑๑ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่เพียงหนึ่งเดียวควบคุมการเปลี่ยนผ่านจากรัชกาล ที่ ๔ เป็น “รัชกาลที่ ๕” พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ขณะนั้นพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่มีพระชนมายุเพียง ๑๕ พรรษา ทั้งยังประชวรหนัก ราชสำนักจึงขาดผู้นำ ที่ประชุมเจ้านาย เสนาบดี และพระราชาคณะ จึงตกลงให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็น “ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน” ไปจนกว่าพระเจ้าอยู่หัวจะมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา เมื่อตำแหน่งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขยับไป ตำแหน่งข้าราชสำนักอื่นๆ ก็ขยับ และเป็นการขยับตาม ตำแหน่งสมุหพระกลาโหมของท่านก็มอบให้ “เจ้าคุณทหาร” หรือเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) บุตรชายได้สืบตำแหน่งต่อ, เสนาบดีกรมท่าเดิม กรมขุนวรจักรธรานุภาพ ว่าราชการอยู่ แต่มีเรื่องขัดแย้งกับท่าน จึงมอบให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) น้องชายต่างมารดาของท่าน แต่เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ฯ ว่าราชการเพียง ๑ ปี ก็ถึงแก่อสัญกรรม เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) น้องชายต่างมารดาอีกคนของท่านเป็นเสนาบดีแทน นอกจากขุนนางระดับเสนาบดีจตุสดมภ์แล้ว ก็ยังมี “คนสนิท” ดูแลทั้งหมด, ในราชสำนักก็มีเส้นสายวางไว้ ฯลฯ
ปี ๒๔๑๑ สมเด็จเจ้าพระยาฯ มีอายุ ๖๐ ปี ซึ่งถ้าเป็นข้าราชการยุคปัจจุบัน คือ ปีที่เกษียณอายุ แต่สมเด็จเจ้าพระยาฯ เป็นผู้สำเร็จราชการแทน ๕ ปี เมื่อถวายอำนาจคืน รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็น “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์” ที่เป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดของเสนาบดีในสมัยนั้น (เกียรติยศเทียบเท่าพระองค์เจ้าต่างกรม), โปรดให้มีอำนาจสั่งประหารชีวิตได้เทียบเท่าพระเจ้าอยู่หัว, เรียกขานว่า “ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน” ต่อไปได้อีก และที่สำคัญคือ อยู่ในฐานะ “ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน” (จนถึงแก่พิราลัย) ซึ่งในทางปฏิบัติก็คือ “หัวหน้าเสนาบดี ” รวมเวลาตั้งแต่เป็นผู้สำเร็จราชการ, ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน คือ ๑๔ ปี หรือ ๑ ใน ๓ ของระยะเวลาที่รัชกาลที่ ๕ ครองราชย์ (๒๔๑๑-๒๔๕๓) สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงมีทั้งอำนาจและบารมีเป็นที่ยำเกรง, แรงกดดัน ฯลฯ ดังที่เจ้านายหลายพระองค์บันทึกเรื่องนี้ไว้ เช่น สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (๒๔๐๓-๒๔๖๔) ตรัสเล่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ย่ำแย่ระหว่างสมเด็จเจ้าพระยาฯ กับบรรดาพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ ว่า “เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งความเป็นไปของพวกเราเป็นครั้งแรก คนผู้เคยนับถือและฝากตัวก็จืดจางไป คนที่เราไม่เคยเกรงก็ต้องเกรง…สมัยที่พวกเรามาถึงเข้าบัดนั้น ชั่งเป็นคราวที่พวกเจ้านายตกต่ำนี่กระไร”
ที่มา: วิภา จิรภาไพศาล. (๕ มกราคม ๒๕๖๔). สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขุนนางผู้ ‘ทรงอิทธิพล’ แห่งรัตนโกสินทร์.มติชน, ๑๓.
ปี ๒๔๑๑ สมเด็จเจ้าพระยาฯ มีอายุ ๖๐ ปี ซึ่งถ้าเป็นข้าราชการยุคปัจจุบัน คือ ปีที่เกษียณอายุ แต่สมเด็จเจ้าพระยาฯ เป็นผู้สำเร็จราชการแทน ๕ ปี เมื่อถวายอำนาจคืน รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็น “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์” ที่เป็นบรรดาศักดิ์สูงสุดของเสนาบดีในสมัยนั้น (เกียรติยศเทียบเท่าพระองค์เจ้าต่างกรม), โปรดให้มีอำนาจสั่งประหารชีวิตได้เทียบเท่าพระเจ้าอยู่หัว, เรียกขานว่า “ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน” ต่อไปได้อีก และที่สำคัญคือ อยู่ในฐานะ “ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน” (จนถึงแก่พิราลัย) ซึ่งในทางปฏิบัติก็คือ “หัวหน้าเสนาบดี ” รวมเวลาตั้งแต่เป็นผู้สำเร็จราชการ, ที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน คือ ๑๔ ปี หรือ ๑ ใน ๓ ของระยะเวลาที่รัชกาลที่ ๕ ครองราชย์ (๒๔๑๑-๒๔๕๓) สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงมีทั้งอำนาจและบารมีเป็นที่ยำเกรง, แรงกดดัน ฯลฯ ดังที่เจ้านายหลายพระองค์บันทึกเรื่องนี้ไว้ เช่น สมเด็จ พระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (๒๔๐๓-๒๔๖๔) ตรัสเล่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ย่ำแย่ระหว่างสมเด็จเจ้าพระยาฯ กับบรรดาพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ ว่า “เราได้เห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งความเป็นไปของพวกเราเป็นครั้งแรก คนผู้เคยนับถือและฝากตัวก็จืดจางไป คนที่เราไม่เคยเกรงก็ต้องเกรง…สมัยที่พวกเรามาถึงเข้าบัดนั้น ชั่งเป็นคราวที่พวกเจ้านายตกต่ำนี่กระไร”
ที่มา: วิภา จิรภาไพศาล. (๕ มกราคม ๒๕๖๔). สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขุนนางผู้ ‘ทรงอิทธิพล’ แห่งรัตนโกสินทร์.มติชน, ๑๓.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
หัวเรื่อง
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
ขุนนาง
บุคคลสำคัญ
คอลเลกชั่น
วิภา จิรภาไพศาล, “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขุนนางผู้ ‘ทรงอิทธิพล’ แห่งรัตนโกสินทร์”, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 2565-25-11, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/research/item/2519