สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในยามผลัดแผ่นดิน : หนทางพิสูจน์สัจจา กาลเวลาพิสูจน์ความจงรักภักดี

Item

ชื่อเรื่อง

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในยามผลัดแผ่นดิน : หนทางพิสูจน์สัจจา กาลเวลาพิสูจน์ความจงรักภักดี

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ประเภท

บทความ

ผู้แต่ง

สมปอง ดวงไสว

วันที่

2565-12-6

รายละเอียด

สุภาพบุรุษห้าแผ่นดิน
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) นับได้ว่าเป็นสุภาพบุรุษห้าแผ่นดิน อันเนื่องจากท่านเกิดมาแต่สมัยปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ ในปีพ.ศ. ๒๓๕๑ ครั้นถึงปีพ.ศ. ๒๓๕๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เสด็จขึ้นครองราชย์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๓๕๒ และได้ครองสิริราช สมบัติมาจนกระทั่งถึง พ.ศ. ๒๓๖๗ ก็เปลี่ยนแผ่นดินอีกครั้งหนึ่ง ในช่วงแผ่นดิน
รัชกาลที่ ๒ นั้น สมเด็จเจ้าพระยาเพิ่งจะอายุรุ่นๆ ปลายแผ่นดินเพิ่งจะได้เข้ารับราชการ การสิ่งใดที่ควรเรียนรู้ก็ได้เรียนรู้จากสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาองค์ใหญ่ ผู้ซึ่งเป็นบิดา การเปลี่ยนแผ่นดิน เมื่อหลังจากรัชกาลที่ ๒ เสด็จสวรรคตนั้น ตระกูลบุนนาค โดยสมเด็จเจ้าพระยา องค์ใหญ่ เป็นกำลังสำคัญในการสนับสนุนให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เสด็จขึ้น ครองสิริราชสมบัติ ด้วยเหตุที่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ท่านทำราชการที่สำคัญ
สนองพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมาอย่างเต็มกำลัง สติปัญญาความสามารถและประสบความสำเร็จอย่างดี ยิ่งในด้านการค้าขายด้วย แล้ว รัชกาลที่ ๒ ถึงกับตรัสเรียกว่าเจ้าสัวทีเดียว

ต่อเรือสำคัญร่วมสร้างสรรค์บ้านเมือง
ที่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้เจริญเติบโตในหน้าที่ราชการ นับแต่เริ่ม ในแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ นี้เอง ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งมหาดเล็ก นายไชยขรรค์ มหาดเล็ก ต่อจากนั้นได้เป็นหลวงสิทธิ์ นายเวร ในคราวที่เป็นหลวงสิทธิ์นายเวรนี้เอง ที่มีโอกาสแสดงความสามารถให้ เป็นที่ปรากฏ เมื่อรัชกาลที่ ๓ โปรดให้ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ไป สร้างเมืองจันทบุรี ก็ได้ไปช่วยบิดาสร้างเมืองใหม่ที่จันทบุรี และได้เรียนรู้ภาษา
ต่างประเทศ จนสามารถนำความรู้จากตำรับตำราภาษาต่างประเทศ มาต่อเรือกำปั่น อย่างฝรั่งได้ ในปีพ.ศ. ๒๓๙๘ ได้ต่อเรือลำแรกสำเร็จชื่อแอเรียล และถวายรัชกาล ที่ ๓ พระองค์ท่าน พระราชทานนามเรือว่า แกล้วกลางสมุทร จากนั้นก็ได้ต่ออีก หลายลำ จนเป็นกำลังสำคัญในการไปรบกับญวนด้วยกระบวนทัพทางเรือ โดยมี สมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นแม่ทัพใหญ่ และท่านเป็นทัพหน้า ไปรบกับญวนในการศึก ครั้งนั้น แม้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า เป็นกำลังสำคัญใน การต่อเรือสร้างบ้านเมืองของแผ่นดิน และรับสนองพระบรมราโชบายอย่างสุดกำลัง

ที่มา : สมปอง ดวงไสว. (๒๕๖๑). สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในยามผลัดแผ่นดิน : หนทางพิสูจน์สัจจา กาลเวลาพิสูจน์ความจงรักภักดี. ใน ศรีสมเด็จ ๖๑ (๗๘-๘๑). สมาคมศิษย์เก่าบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในพระบรมชูปถัมภ์.

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

อ 378.593 ม246ศ 2561

ภาษา

tha

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

รหัส

หัวเรื่อง

สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
บุคคลสำคัญ
เรือกำปั่น

คอลเลกชั่น

78.pdf

สมปอง ดวงไสว, “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ในยามผลัดแผ่นดิน : หนทางพิสูจน์สัจจา กาลเวลาพิสูจน์ความจงรักภักดี”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565-12-6, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/research/item/2537