กุฎีจีน ชุมชนเก่า 200 ปี กรุงธนบุรี
Item
ชื่อเรื่อง
กุฎีจีน ชุมชนเก่า 200 ปี กรุงธนบุรี
ประเภท
บทความ
วันที่
2566-07-25
รายละเอียด
"กุฎีจีน" ชุมชนเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตตั้งแต่ริมคลอง กัลยาณ์ จนไปเชื่อมต่อกับวัดประยุรวงศาวาส วรวิหาร เขตธนบุรี
ชุมชนแห่งนี้มีประวัติความเป็นมากว่า 200 ปี บรรพบุรุษของชาวกุฎีจีนประกอบไปด้วยผู้คนหลายเชื้อชาติและต่างศาสนา โดยย้อนกลับไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ในเวลานั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราช และสถาปนากรุงธนบุรีขึ้น และพระองค์ได้รวบรวมเหล่าไพร่พลที่กระจัดกระจายหลังจากศึกสงคราม ทั้งชาวไทย ชาวจีน และชาวโปรตุเกส และพระราชทานที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัย โดยให้ชาวจีนมาตั้งบ้านเรือนอยู่เหนือคลองกุฎีจีน ใกล้วัดกัลยาณมิตร ส่วนชาวคริสต์และโปรตุเกส ตั้งบ้านเรือนรวมกันอยู่ตอนใต้ลงมา ส่วนที่มาของชื่อ "กุฎีจีน" หรือ กะดีจีน นั้น "สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ทรงวินิจฉัยว่า กุฎีจีน น่าจะหมายถึงศาลเจ้าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ริมคลองกุฎีจีน ซึ่งชาวจีนที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิม สร้างไว้ตั้งแต่ก่อนขุดคลองลัดบางกอก คือก่อนสมัยพระไชยราชา บริเวณที่ตั้งศาลเจ้านี้ เดิมเป็นส่วนแหลมที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลเลี้ยวไปทางคลองบางกอกใหญ่ เมื่อมีศาลเจ้าจีนมาตั้งอยู่ตรงปลายแหลมจึงเป็นจุดสังเกต และกลายเป็นนามที่ชาวบ้านใช้เรียกบริเวณนี้ติดปากว่า กุฎีจีน
ที่มา : "กุฎีจีน" ชุมชนเก่า 200 ปี. (2556, 6 กันยายน). มติชน, 22.
ชุมชนแห่งนี้มีประวัติความเป็นมากว่า 200 ปี บรรพบุรุษของชาวกุฎีจีนประกอบไปด้วยผู้คนหลายเชื้อชาติและต่างศาสนา โดยย้อนกลับไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ในเวลานั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้เอกราช และสถาปนากรุงธนบุรีขึ้น และพระองค์ได้รวบรวมเหล่าไพร่พลที่กระจัดกระจายหลังจากศึกสงคราม ทั้งชาวไทย ชาวจีน และชาวโปรตุเกส และพระราชทานที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัย โดยให้ชาวจีนมาตั้งบ้านเรือนอยู่เหนือคลองกุฎีจีน ใกล้วัดกัลยาณมิตร ส่วนชาวคริสต์และโปรตุเกส ตั้งบ้านเรือนรวมกันอยู่ตอนใต้ลงมา ส่วนที่มาของชื่อ "กุฎีจีน" หรือ กะดีจีน นั้น "สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ" ทรงวินิจฉัยว่า กุฎีจีน น่าจะหมายถึงศาลเจ้าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ริมคลองกุฎีจีน ซึ่งชาวจีนที่อาศัยอยู่แต่ดั้งเดิม สร้างไว้ตั้งแต่ก่อนขุดคลองลัดบางกอก คือก่อนสมัยพระไชยราชา บริเวณที่ตั้งศาลเจ้านี้ เดิมเป็นส่วนแหลมที่แม่น้ำเจ้าพระยาไหลเลี้ยวไปทางคลองบางกอกใหญ่ เมื่อมีศาลเจ้าจีนมาตั้งอยู่ตรงปลายแหลมจึงเป็นจุดสังเกต และกลายเป็นนามที่ชาวบ้านใช้เรียกบริเวณนี้ติดปากว่า กุฎีจีน
ที่มา : "กุฎีจีน" ชุมชนเก่า 200 ปี. (2556, 6 กันยายน). มติชน, 22.
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
กุฎีจีน
วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
วัดบุปผาราม
มัสยิดบางหลวง
แหล่งชุมชน
คอลเลกชั่น
“กุฎีจีน ชุมชนเก่า 200 ปี กรุงธนบุรี”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-07-25, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 27, 2024, http://202.29.54.157/s/research/item/2684