วัดนาคปรก
Item
ชื่อเรื่อง
วัดนาคปรก
วันที่
2566-09-26
รายละเอียด
วัดนาคปรก มีอายุเก่าแก่เกือบ ๓๐๐ ปี แต่เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า “วัดปก” เนื่องจากตั้งอยู่กลางสวนป่าที่ปกคลุมไว้ สันนิษฐานการสร้างวัดว่า ประชาชนชาวบ้านในชุมชนร่วมกันสร้างขึ้น ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ราวปี พ.ศ. ๒๒๙๑ หรือก่อนการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ เพียง ๑๙ ปี และสืบเนื่องจากภาวะทางสงคราม ประชาชนต่างพากันเดือดร้อนและต้องหลบหนีลี้ภัย เป็นเหตุให้วัดปกถูกทิ้งร้างเป็นเวลานาน มีสภาพที่เสื่อมโทรม ให้เห็นเพียงอุโบสถและวิหารที่เหลือแต่หลังคาและฝาผนังเท่านั้น
การบูรณปฏิสังขรณ์ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น :
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๓ “เจ้าสัวพุก” พ่อค้าคหบดีเชื้อสายจีน (ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (พุก แซ่ตัน) ต้นสกุล "โชติกพุกกณะ") ได้มีศรัทธาเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดปก หรือวัดนาคปรก จากการชักชวนจากพระยาโชฏึกราชเศรษฐี (จ๋อง ต้นสกุลอิงคานนท์) ซึ่งเป็นผู้บูรณะวัดนางชีโชติการาม เพราะความที่เป็นผู้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และความกตัญญูต่อแผ่นดินไทยที่ได้อาศัยทำการค้าขายจนมั่งคั่ง ท่านพระยาโชฏึกราชเศรษฐี (พุก) จึงได้เริ่มบูรณะวัดปก ตั้งแต่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๓ ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ ท่านได้เริ่มบูรณะอุโบสถก่อน โดยลักษณะพิเศษของอุโบสถนั้น เป็นอาคารที่มีลักษณะโค้งแอ่นคล้ายท้องเรือสำเภาจีน เป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมผสาน ภายในอุโบสถ เป็นภาพวาดจิตรกรรมจีน ซึ่งได้ว่าจ้างจิตกรฝีมือดีจากเมืองจีนเขียนภาพจิตรกรรมลงบนฝาผนังด้านบนโดยรอบทั้ง ๔ ด้าน จัดเรียงเป็นช่อง ๆ แสดงถึงเครื่องมงคลสำหรับบูชาทางพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ตามความเชื่อของชาวจีนแต่โบราณ ซึ่งถือได้ว่าภาพจิตรกรรมจีนโบราณบนฝาผนังอุโบสถวัดนาคปรก เป็นภาพจิตรกรรมที่สวยงามตามแบบฉบับดั้งเดิม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ทั้งนี้ เราสามารถทราบปีที่บูรณะแล้วเสร็จได้อย่างแน่ชัด จากตัวอักษรภาษาจีนในภาพจิตรกรรมซึ่งอยู่บนบานประตูภายในด้านหน้า ด้านขวาพระหัตถ์ของพระประธาน ได้ระบุถึงปีที่เขียนภาพ อ่านได้ว่า “ปี ติง เว่ย” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัชกาลที่ ๓ ทรงครองราชย์ วัดนาคปรกได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๒๙๑ โดยเป็นวัดที่สร้างขึ้นก่อนพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ ๐๐๐๓/๗๑๗๕ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๑ เรื่องขอรับรองสภาพวัด) อาณาเขตวิสุงคามสีมา มีขนาดความกว้าง ๔๘.๖๐ เมตร ความยาว ๕๐.๗๐ เมตร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน “วัดนาคปรก” เป็นโบราณสถาน ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๐ ในปัจจุบัน มีพระกิตติโสภณวิเทศ (เศรษฐกิจ สมาหิโต) เป็นเจ้าอาวาส
นอกจากนี้ ท่านพระยาโชฏึกราชเศรษฐี (เจ้าสัวพุก แซ่ตัน) ยังได้อัญเชิญ พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย มีพระพุทธลักษณะที่งดงาม อายุเก่าแก่กว่า ๗๐๐ ปี (นับจากปัจจุบัน) จำนวน ๒ องค์ นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ เพื่อทดแทนพระประธานองค์เดิมซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นและมีสภาพชำรุดทรุดโทรม พระพุทธรูปองค์ปัจจุบันนี้ เป็นที่รู้จักกันในนามว่า “หลวงพ่อเจ้าสัว” ส่วนอีกองค์หนึ่ง ประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในวิหาร ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ได้รับการบูรณะต่อจากอุโบสถ และภายในวิหารได้ให้ช่างจิตรกรฝีมือดีเขียนภาพจิตรกรรมไทยบนฝาผนังเช่นกัน โดยด้านหลังเป็นภาพการเสด็จดำเนินลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังการแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ส่วนด้านหน้าเป็นภาพเรื่องราวการชนะพญามารและเสนามารก่อนการตรัสรู้ พระประธานองค์นี้ ท่านพระยาโชฏึกราชเศรษฐีได้สร้างพญานาคปรกขึ้นครอบไว้ มีขนดกายม้วนขึ้นซ้อนกัน ๔ ชั้น มีเศียร ๗ เศียร แผ่พังพาน โดยสร้างด้วยปูนปั้นและมีแกนโครงสร้างเป็นไม้ตะเคียน ปูนปั้นทำสีประดับลายกระจก พระประธานองค์นี้จึงได้รับการเรียกขานนามกันว่า “หลวงพ่อนาคปรก” และการเรียกชื่อวัดปรกจึงได้กลายมาเป็นชื่อ “วัดนาคปรก” นับแต่จากนั้นเป็นต้นมา
ที่มา : วัดนาคปรก. (๒๐๒๓). https://www.watnakprok.com/
การบูรณปฏิสังขรณ์ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น :
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๓ “เจ้าสัวพุก” พ่อค้าคหบดีเชื้อสายจีน (ต่อมาดำรงตำแหน่งเป็น พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (พุก แซ่ตัน) ต้นสกุล "โชติกพุกกณะ") ได้มีศรัทธาเข้ามาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดปก หรือวัดนาคปรก จากการชักชวนจากพระยาโชฏึกราชเศรษฐี (จ๋อง ต้นสกุลอิงคานนท์) ซึ่งเป็นผู้บูรณะวัดนางชีโชติการาม เพราะความที่เป็นผู้มีศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา และความกตัญญูต่อแผ่นดินไทยที่ได้อาศัยทำการค้าขายจนมั่งคั่ง ท่านพระยาโชฏึกราชเศรษฐี (พุก) จึงได้เริ่มบูรณะวัดปก ตั้งแต่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๓ ต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ ๔ ท่านได้เริ่มบูรณะอุโบสถก่อน โดยลักษณะพิเศษของอุโบสถนั้น เป็นอาคารที่มีลักษณะโค้งแอ่นคล้ายท้องเรือสำเภาจีน เป็นสถาปัตยกรรมไทยผสมผสาน ภายในอุโบสถ เป็นภาพวาดจิตรกรรมจีน ซึ่งได้ว่าจ้างจิตกรฝีมือดีจากเมืองจีนเขียนภาพจิตรกรรมลงบนฝาผนังด้านบนโดยรอบทั้ง ๔ ด้าน จัดเรียงเป็นช่อง ๆ แสดงถึงเครื่องมงคลสำหรับบูชาทางพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ตามความเชื่อของชาวจีนแต่โบราณ ซึ่งถือได้ว่าภาพจิตรกรรมจีนโบราณบนฝาผนังอุโบสถวัดนาคปรก เป็นภาพจิตรกรรมที่สวยงามตามแบบฉบับดั้งเดิม และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใคร ทั้งนี้ เราสามารถทราบปีที่บูรณะแล้วเสร็จได้อย่างแน่ชัด จากตัวอักษรภาษาจีนในภาพจิตรกรรมซึ่งอยู่บนบานประตูภายในด้านหน้า ด้านขวาพระหัตถ์ของพระประธาน ได้ระบุถึงปีที่เขียนภาพ อ่านได้ว่า “ปี ติง เว่ย” ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัชกาลที่ ๓ ทรงครองราชย์ วัดนาคปรกได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๒๙๑ โดยเป็นวัดที่สร้างขึ้นก่อนพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ (หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ ๐๐๐๓/๗๑๗๕ ลงวันที่ ๔ กันยายน ๒๕๕๑ เรื่องขอรับรองสภาพวัด) อาณาเขตวิสุงคามสีมา มีขนาดความกว้าง ๔๘.๖๐ เมตร ความยาว ๕๐.๗๐ เมตร กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียน “วัดนาคปรก” เป็นโบราณสถาน ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๒๐ ในปัจจุบัน มีพระกิตติโสภณวิเทศ (เศรษฐกิจ สมาหิโต) เป็นเจ้าอาวาส
นอกจากนี้ ท่านพระยาโชฏึกราชเศรษฐี (เจ้าสัวพุก แซ่ตัน) ยังได้อัญเชิญ พระพุทธรูปสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย มีพระพุทธลักษณะที่งดงาม อายุเก่าแก่กว่า ๗๐๐ ปี (นับจากปัจจุบัน) จำนวน ๒ องค์ นำมาประดิษฐานเป็นพระประธานในอุโบสถ เพื่อทดแทนพระประธานองค์เดิมซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นและมีสภาพชำรุดทรุดโทรม พระพุทธรูปองค์ปัจจุบันนี้ เป็นที่รู้จักกันในนามว่า “หลวงพ่อเจ้าสัว” ส่วนอีกองค์หนึ่ง ประดิษฐานไว้เป็นพระประธานในวิหาร ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ได้รับการบูรณะต่อจากอุโบสถ และภายในวิหารได้ให้ช่างจิตรกรฝีมือดีเขียนภาพจิตรกรรมไทยบนฝาผนังเช่นกัน โดยด้านหลังเป็นภาพการเสด็จดำเนินลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลังการแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ส่วนด้านหน้าเป็นภาพเรื่องราวการชนะพญามารและเสนามารก่อนการตรัสรู้ พระประธานองค์นี้ ท่านพระยาโชฏึกราชเศรษฐีได้สร้างพญานาคปรกขึ้นครอบไว้ มีขนดกายม้วนขึ้นซ้อนกัน ๔ ชั้น มีเศียร ๗ เศียร แผ่พังพาน โดยสร้างด้วยปูนปั้นและมีแกนโครงสร้างเป็นไม้ตะเคียน ปูนปั้นทำสีประดับลายกระจก พระประธานองค์นี้จึงได้รับการเรียกขานนามกันว่า “หลวงพ่อนาคปรก” และการเรียกชื่อวัดปรกจึงได้กลายมาเป็นชื่อ “วัดนาคปรก” นับแต่จากนั้นเป็นต้นมา
ที่มา : วัดนาคปรก. (๒๐๒๓). https://www.watnakprok.com/
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
วัดนาคปรก
วัดโบราณ
หลวงพ่อเจ้าสัว
หลวงพ่อนาคปรก
ศาสนาสถาน
คอลเลกชั่น
“วัดนาคปรก”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-09-26, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 23, 2024, http://202.29.54.157/s/research/item/2726