วัฒนธรรมที่น่าค้นหาของชุมชนวัดประดิษฐาราม
Item
ชื่อเรื่อง
วัฒนธรรมที่น่าค้นหาของชุมชนวัดประดิษฐาราม
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่
2566-11-09
รายละเอียด
วัฒนธรรมที่น่าค้นหาของชุมชนวัดประดิษฐารามชุมชนมอญเกิดขึ้นจากการมีวัดเป็นศูนย์รวมของคนในชุมชน ทั้งนี้ได้ใช้วัดเป็น ใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลร่วมกัน หรือเป็นที่พบปะกันในโอกาสอันควร วัดที่ชาวมอญ สร้างไว้ในชุมชนจึงเรียกกันมาแต่เดิมว่า "วัดมอญ"หรือ "วัดรามัญประดิษฐ์"ชื่อ
อย่างเป็นทางการในขณะนี้คือ "วัดประดิษฐาราม"การกำหนดเขตชุมชนก็แบ่งกัน อย่างง่ายๆ เอาวัดเป็นศูนย์กลาง ชุมชนที่ อยู่ใกล้วัดเรียก "หัวบ้าน"ที่ไกลออกไปจน สุดเขตของชุมชนเรียก "ท้ายบ้าน"หรือ ท้ายบ้านมอญ วัดประดิษฐาราม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่เลขที่ 33 ซอยอิสรภาพ 17/1 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี ลักษณะของพื้นที่วัดประดิษฐารามเดิมเป็นที่ราบลุ่ม มีลักษณะน้ำขังโดยทั่วไป ปัจจุบัน ทำการปรับปรุงพื้นที่ของวัดทั้งหมดเป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก วัดประดิษฐารามมี ลักษณะที่ตั้ง ดังนี้ ทิศตะวันออกจรดบ้านเรือนของเอกชน ทิศตะวันตกจรดคลองบางกอกใหญ่ ทิศใต้จรดทางสาธารณะ เหนือจรดถนนคลองถม วัดประดิษฐาราม เป็นวัดเก่าของคนไทย กุฏิพระแต่เดิมเป็นฝาไม้ไผ่ขัดแตะเมื่อคนมอญมาอยู่บริเวณนี้ได้ช่วยกันทำนุบำรุงวัดจนกลายเป็น วัดมอญในที่สุด เจ้าอาวาสองค์แรกคือ ท่านเกษร เมื่อสิ้นท่านเกษร แล้วสมภาร รูปต่อมาเป็นชื่อว่าหลวงปู่โต โดยชาวบ้านได้ไปนิมนต์ท่านมาจาก บ้าน บางปลา ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในราวต้นรัชกาลที่ 5 และท่านมรณภาพราวต้นรัชกาลที่ 6 ใน การปลงศพหลวงปู่โต ทางราชการได้ส่งช่างสิบหมู่มาสร้างเมรุให้ และมีการจุด ลูกหนูด้วย มีการกล่าวถึงงานศพไว้ว่ามี คนมอญมาเผาศพท่านมากเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปัชฌาย์ "เน" มีสิทธิ์ที่จะบวชพระได้ทั่วประเทศสยาม
ที่มา :วัฒนธรรมที่น่าค้นหาของชุมชนวัดประดิษฐาราม (วัดมอญ). (๒๕๖๑). ใน ชุมชนวัดประดิษฐาราม (วัดมอญ). (หน้า ๔๗-๕๖). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
อย่างเป็นทางการในขณะนี้คือ "วัดประดิษฐาราม"การกำหนดเขตชุมชนก็แบ่งกัน อย่างง่ายๆ เอาวัดเป็นศูนย์กลาง ชุมชนที่ อยู่ใกล้วัดเรียก "หัวบ้าน"ที่ไกลออกไปจน สุดเขตของชุมชนเรียก "ท้ายบ้าน"หรือ ท้ายบ้านมอญ วัดประดิษฐาราม เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่เลขที่ 33 ซอยอิสรภาพ 17/1 ถนนอิสรภาพ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี ลักษณะของพื้นที่วัดประดิษฐารามเดิมเป็นที่ราบลุ่ม มีลักษณะน้ำขังโดยทั่วไป ปัจจุบัน ทำการปรับปรุงพื้นที่ของวัดทั้งหมดเป็น คอนกรีตเสริมเหล็ก วัดประดิษฐารามมี ลักษณะที่ตั้ง ดังนี้ ทิศตะวันออกจรดบ้านเรือนของเอกชน ทิศตะวันตกจรดคลองบางกอกใหญ่ ทิศใต้จรดทางสาธารณะ เหนือจรดถนนคลองถม วัดประดิษฐาราม เป็นวัดเก่าของคนไทย กุฏิพระแต่เดิมเป็นฝาไม้ไผ่ขัดแตะเมื่อคนมอญมาอยู่บริเวณนี้ได้ช่วยกันทำนุบำรุงวัดจนกลายเป็น วัดมอญในที่สุด เจ้าอาวาสองค์แรกคือ ท่านเกษร เมื่อสิ้นท่านเกษร แล้วสมภาร รูปต่อมาเป็นชื่อว่าหลวงปู่โต โดยชาวบ้านได้ไปนิมนต์ท่านมาจาก บ้าน บางปลา ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ในราวต้นรัชกาลที่ 5 และท่านมรณภาพราวต้นรัชกาลที่ 6 ใน การปลงศพหลวงปู่โต ทางราชการได้ส่งช่างสิบหมู่มาสร้างเมรุให้ และมีการจุด ลูกหนูด้วย มีการกล่าวถึงงานศพไว้ว่ามี คนมอญมาเผาศพท่านมากเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ได้รับแต่งตั้งเป็นอุปัชฌาย์ "เน" มีสิทธิ์ที่จะบวชพระได้ทั่วประเทศสยาม
ที่มา :วัฒนธรรมที่น่าค้นหาของชุมชนวัดประดิษฐาราม (วัดมอญ). (๒๕๖๑). ใน ชุมชนวัดประดิษฐาราม (วัดมอญ). (หน้า ๔๗-๕๖). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
307.74 ช622 2561
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
ชุมชนวัดประดิษฐาราม
วัฒนธรรม
ศาสนาสถาน
คอลเลกชั่น
“วัฒนธรรมที่น่าค้นหาของชุมชนวัดประดิษฐาราม”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-11-09, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 23, 2024, http://202.29.54.157/s/research/item/2768