ขันลงหิน-บ้านบุ
Item
ชื่อเรื่อง
ขันลงหิน-บ้านบุ
ผู้แต่ง
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)
วันที่
2566-11-14
รายละเอียด
ขันลงหิน มีต้นกำเนิดตั้งแต่เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งนิยมใช้ขันลงหินเป็น ข้นล้างหน้า ขันน้ำมนต์ ขันใส่น้ำดื่ม หรือใช้ในงานพิธีมงคลต่าง ๆ การผลิตขันลงหินเป็นงานที่มีขั้นตอนการผลิตยาก ต้องใช้ระยะเวลานานกว่าจะผลิตเป็นขันลงหินได้แต่ละชิ้น การใช้ขันลงหินจึงมักใช้กันในราชสำนักในสมัยนั้นและใช้กันในกลุ่มเจ้าขุนมูลนาย พ่อค้า คหบดี ส่วนชาวบ้านทั่วไป มักไม่ค่อยมีโอกาสที่จะได้ใช้ขันลงหิน ในสมัยกรุงศรีอยุธยา การผลิตขันลงหินโดยใช้ "ทองม้าล่อ" ที่นำเข้ามาจากเมืองจีน (ในสมัยโบราณการทำขันลงหิน ใช้ทองที่นำมาจากเมืองจีน เรียกว่าทองม้าล่อ) ซึ่งทำมาจากทองแดงผสมดีบุกและเศษ เครื่องดนตรีจีนจำพวกฉาบ โหม่ง หรือ ใช้เครื่องโลหะที่ทำจากสำริดเป็นวัสดุหลักในการผลิตขันลงหินขึ้นใช้งาน ผ่านกรรมวิธีซึ่งใช้หินเป็นก้อนขัดภาชนะจนขึ้นเงาจึงเรียกว่า "เครื่องทองลงหิน" ขันลงหิน จึงเป็นมรดกทางภูมิปัญญาที่สืบทอดมาแต่ โบราณ ถูกถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น เป็นหัตถกรรมอันประณีตที่ยังคงสืบสานขั้นตอนการผลิตด้วยมือทั้งหมดเป็นงานหัตถกรรม ที่รวบรวมงานช่างจากหลายแขนงมารังสรรค์จนเป็น "ขันลงหิน"ที่มีรูปแบบอัน วิจิตร งดงาม สะท้อน ถึงภูมิ ปัญญา การผลิตภาชนะของคนโบราณสืบต่อมาจนถึงในปัจจุบัน
ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). (2562).
งานศิลปหัตถกรรมประเภทขันลงหิน-บ้านบุ. https://www.sacit.or.th/uploads/
items/attachments/3b93d91c6ca4990fffd61e37d9235acb/_498c02a0c8428837c103ebf7645839d7.pdf
ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). (2562).
งานศิลปหัตถกรรมประเภทขันลงหิน-บ้านบุ. https://www.sacit.or.th/uploads/
items/attachments/3b93d91c6ca4990fffd61e37d9235acb/_498c02a0c8428837c103ebf7645839d7.pdf
รูปแบบ
application/pdf
ภาษา
tha
สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
หัวเรื่อง
ขันลงหิน
เครื่องทองลงหิน
บ้านบุ
ชุมชนหัตถกรรม
คอลเลกชั่น
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน), “ขันลงหิน-บ้านบุ”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2566-11-14, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 23, 2024, http://202.29.54.157/s/research/item/2778