การพัฒนารูปแบบการสอนที่ใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนารูปแบบการสอนที่ใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ชื่อเรื่องรอง

The development of math problem teaching through the use of the basic brain to solve math problem skill of prathomsuksa 5

ผู้แต่ง

ชัยณรงค์ กลิ่นอยู่

หัวเรื่อง

คณิตศาสตร์ -- การแก้ปัญหา
การเรียนการสอน

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนที่ใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนารูปแบบการสอน 2) การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3) การทดลองใช้รูปแบบการสอนและ 4) การประเมินผลรูปแบบการสอนที่ใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนคลองมหาวงก์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 30 คน 1 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องเข้าใจเศษส่วนและแบบทดสอบวัดทักษะการ แก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติที่ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนที่ใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งสริมทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีความเหมาะสม มีองค์ประกอบครบถ้วน ประกอบด้วย 1)แนวคิดของรูปแบบการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน 3) กระบวนการเรียนการสอนและ 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับ 2. ผลการเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่าทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการใช้ รูปแบบการสอนที่ใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบการสอน ทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

The purposes of this research were to 1) develop brain-based instructional model to enhance mathematic problem solving skill for Prathomsuksa 5 students and 2) compare students’ mathematic problem solving skill between before and after the experiment. There are 5 processes of the study i.e. 1) developing instructional model 2) designing research tools 3) implementing the developed instructional model and 4) evaluating the developed instructional model. The sample group included a classroom of 30 Prathomsuksa 5 students from Klong Mahawang School in the 1st semester of academic year 2018. The research tools involved lesson plans on fraction and tests of mathematic problem solving. Data were statistically analyzed by MEAN, standard deviation, and paired t-test for dependent sample. The findings revealed the following. 1. The appropriateness of the brain-based instructional model was confirmed within 5 components: 1) concepts 2) objectives 3) learning process and 4) learning outcomes. 2. Students’ mathematic problem solving skill after learning through brain-based instructional model was higher than the skill before the experiment at significance level .01

Keywords: Development of Instructional Model, Mathematic Problem Solving

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

ศาสตราจารย์ ดร.บังอร เสรีรัตน์
ดร.เพ็ญพร ทองคำสุก

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2565

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2567-03-08

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2567-03-08

วันที่เผยแพร่

2567-03-08

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 372.3 ช383ก 2565

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คอลเลกชั่น

CHAINARONOG KLINYU.pdf

ชัยณรงค์ กลิ่นอยู่, “การพัฒนารูปแบบการสอนที่ใช้สมองเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5”, มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, 2565, คลังข้อมูลวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, accessed November 23, 2024, http://202.29.54.157/s/research/item/2894