ประสิทธิภาพการผลิตคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ - อบไอน้ำที่มีส่วนผสมกากตะกอนน้ำตาล

Item

ชื่อเรือง

ประสิทธิภาพการผลิตคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ - อบไอน้ำที่มีส่วนผสมกากตะกอนน้ำตาล

ชื่อเรื่องรอง

Manafacturing effciency of autoclaved aerated concrete containning sugar sediment

ผู้แต่ง

กรกฎ เพ็ชร์หัสณะโยธิน

หัวเรื่อง

คอนกรีตน้ำหนักเบา
คอนกรีต

รายละเอียดอื่นๆ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบทางเคมีของกากตะกอนน้ำตาลที่เกิดจากกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตน้ำตาลในจังหวัดสิงห์บุรีและสุพรรณบุรี 2) สมบัติเบื้องต้นของ คอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำที่มีส่วนผสมของกากตะกอนน้ำตาลเปรียบเทียบกับมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก. 1 505-2541) 3) สัดส่วนที่เหมาะสมในการนำกากตะกอนน้ำตาลจากแต่ ละแหล่งมาใช้เป็นส่วนผสมของคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ และ 4) ต้นทุนการผลิตของคอนกรีตมวลเบาที่มีส่วนผสมของกากตะกอนน้ำตาลเทียบกับคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำเชิงพาณิชย์
ผลการวิจัยพบว่า
1) กากตะกอนน้ำตาลจากทั้ง 2 แหล่ง มีองค์ประกอบทางเดมีที่สอดคล้องกับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตคอนกรีตมวลเบา โดยกากตะกอนน้ำตาลจากแหล่งสิงห์บุรีมีอัตราส่วนปริมาณ Ca0 ต่e SiO, สูงกว่าแหล่งสุพรรณบุรี
2) สมบัติเบื้องต้นของคอนกรีตมวลเบาที่มีส่วนผสมของกากตะกอนน้ำตาลจากทั้ง 2 แหล่งที่อัตราส่วนแทนที่ทรายต่างๆ พบว่าคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำที่มีส่วนผสมกากตะกอนน้ำตาลมีกำลังรับแรงอัด5.06-5.76 N/mm2 กำลังรับแรงอัด 15.5551-18.357 g/cm2 อัตราการดูดกลืนน้ำ 0.380-0.390 kg/cm3 และ ความหนาแน่นเชิงปริมาตร 0.556-0.601 g/cm3 ตามลำดับ โดยใน อัตราส่วนแทนที่ทรายเท่ากัน คอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำที่มีส่วนผสมกากตะกอนน้ำตาลจากจังหวัดสิงห์บุรีจะกำลังรับแรงอัดสูงกว่าสุพรรณบุรี แต่กำลังรับแรงอัดและอัตราการดูดกลืนน้ำมีค่าใกล้เคียงกัน ส่วนความหนาแน่นเชิงปริมาตรเฉลี่ยต่ำกว่าค่าตามมาตรฐาน
3) สัดส่วนที่เหมาะสมในการนำกากตะกอนน้ำตาลจากทั้ง 2 แหล่งมาใช้เป็นส่วนผสมของคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ พบว่าอัตราส่วนแทนที่ทรายร้อยละ 25 ของกากตะกอนน้ำตาลทั้ง 2 แหล่งเป็นสัดส่วนที่เหมาะสม เนื่องจากสามารถแทนที่ทรายได้มากที่สุดและมีสมบัติเบื้องต้นผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก. 1 505-2541) จัดอยู่ในชั้นคุณภาพ G4
4) ต้นทุนการผลิตคอนกรีตมวลเบาเชิงพาณิชย์ คอนกรีตมวลเบาที่มีส่วนผสมของกากตะกอนน้ำตาลจากจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดสิงห์บุรีร้อยละ 25 มีค่าเท่ากับ 1855.51, 1766.09 และ1750.69 บาทต่อลบ.ม. ตามลำดับ ส่งผลให้คอนกรีตมวลเบาที่ส่วนผสมของกากตะกอนน้ำตาลจากจังหวัดสิงห์บุรีมีระยะเวลาคืนทุนเร็วกว่าคอนกรีตมวลเบาที่มีส่วนผสมของกากตะกอนน้ำตาลจากจังหวัดสุพรรณบุรีและดอนกรีตมวลเบาเชิงพาณิชข์ ดังนั้นการผลิตคอนกรีตมวลเบาที่มีส่วนผสมของกากตะกอนน้ำตาลจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการผลิตคอนกรีต มวลเบาที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานอุตสาหกรรมและราคาต่ำว่าคอนกรีตมวลเบาชิงพาณิชย์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

คำสำคัญ : กากตะกอนน้ำตาล, ตอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ, ประสิทธิภาพ,สมบัติทางกายภาพ

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

สมบัติ ทีฆทรัพย์
สุธน เสถียรยานนท์
โยธิน อึ่งกูล

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2555

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 666.893 ก152ป 2555

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การจัดการเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2555

คอลเลกชั่น

กรกฎ เพ็ชร์หัสณะโยธิน . (2555). ประสิทธิภาพการผลิตคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ - อบไอน้ำที่มีส่วนผสมกากตะกอนน้ำตาล. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 25, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1358

นำออกข้อมูล :