ทิวทัศน์เมืองโคราช กรณีศึกษาผลงานจิตรกรรม ของสจวร์ต เดวิส ระหว่างปี ค.ศ.1928-1932
Item
ชื่อเรือง
ทิวทัศน์เมืองโคราช กรณีศึกษาผลงานจิตรกรรม ของสจวร์ต เดวิส ระหว่างปี ค.ศ.1928-1932
ชื่อเรื่องรอง
The Cityscape of Korat : A Case Study of paintings created by Stuart Davis during 1928-1932 A.D.
ผู้แต่ง
เจียมรัตน์ ปานอุบล
หัวเรื่อง
จิตรกรรม
ลัทธิบาศกนิยม
สจวร์ต เดวิส
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษางานจิตรกรรม แนวบาศกนิยมของสจวร์ต เดวิส ระหว่างปี ค.ศ. 1928-1932 ในประเด็นที่เกี่ยวกับแนวคิดและเนื้อหา องค์ประกอบในภาพ การจัดภาพ ชุดสีและกลวิธีการระบายสี 2) สร้างสรรค์งานจิตรกรรม เรื่อง ทิวทัศน์เมืองโคราช : กรณีศึกษาผลงานจิตรกรรมของสจวร์ต เดวิส ระหว่างปี ค.ศ. 1928 - 1932 ด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผลงานจิตรกรรมแนวบาศกนิยมของ สจวร์ต เดวิส เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์ตาราง กริด แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและผลงานสร้างสรรค์ของผู้วิจัยเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะ โดยใช้เทคนิคเดลฟายประยุกต์และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษางานจิตรกรรมแนวบาศกนิยม ของ สจวร์ต เดวิส ระหว่าง ค.ศ.1928-1932 ประเด็นแนวคิดและเนื้อหา พบว่า มีแนวคิดจากสถานที่ประทับใจต่างถิ่น มากที่สุด รองลงมาคือบรรยากาศเงียบสงบในเมือง สถานที่พักผ่อนในเมืองและเทคโนโลยีในเมืองตามลำดับ ประเด็นองค์ประกอบในภาพ พบว่า องค์ประกอบที่เป็นรูปร่างใช้ในระดับมากที่สุด รองลงมาใช้น้ำหนักอ่อน แก่ เส้น และจุดตามลำดับ ประเด็นการจัดภาพ พบว่า การจัดภาพแบบกระจายเต็มภาพใช้ในระดับมาก รองลงมาจัดแบบเว้นพื้นที่รอบภาพและจัดแบบใช้จุดนำสายตาตามลำดับ ประเด็นชุดสี พบว่า สีที่ใช้บ่อยในทุกๆ ภาพได้แก่ สีขาว น้ำเงินดำ เหลือง แดง ฟ้า ส้ม ชมพู เขียว น้ำตาล และเทาตามลำดับ ซึ่งเป็นสีสด และประเด็นกลวิธีการระบายสี พบว่า การระบายสีเรียบใช้ในระดับมากที่สุด และระบายสร้างพื้นผิวรองลงมา 2. การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เรื่องทิวทัศน์เมืองโคราช ด้วยสีอะคริลิกบนผ้าใบ ประเด็นแนวคิดและเนื้อหาใช้บรรยากาศเงียบสงบในเมือง เป็นแรงบันดาลในระดับมาก ประเด็นองค์ประกอบในภาพ ใช้รูปร่างในระดับมาก รองลงมาเป็นน้ำหนักอ่อน แก่ ใช้เส้นและจุดในระดับปานกลาง ประเด็นการจัดภาพ จัดแบบกระจายเต็มภาพในระดับมาก รองลงมาจัดแบบมีจุดนำสายตาและจัดแบบเว้นพื้นที่ระดับปานกลางและน้อย ประเด็นชุดสี สีที่ใช้บ่อยและในปริมาณมากได้แก่ขาว น้ำเงิน ดำ เหลือง แดง ฟ้า ส้ม ชมพู เขียว น้ำตาล และเทา ซึ่งเป็นสีสด และประเด็นกลวิธีการระบายสี ใช้การระบายสีเรียบเป็นส่วนใหญ่ มีการระบายแบบสร้างพื้นผิวเป็นบางส่วน
คำสำคัญ : ทิวทัศน์เมืองโคราช ,ลัทธิบาศกนิยม, สจวร์ต เดวิส
คำสำคัญ : ทิวทัศน์เมืองโคราช ,ลัทธิบาศกนิยม, สจวร์ต เดวิส
บทคัดย่อ
The purposes of this research were 1) to study the cubism paintings of Stuart Davis between 1928-1932 A.D. in terms of thoughts and contents, elements, composition, colours, and painting techniques and 2) to create the painting entitled “The Cityscape of Korat : A Case Study of paintings created by Stuart Davis during 1928-1932 A.D. on Acrylic Canvas”. The sample included Stuart Davis’s cubism paintings. Data were collected using grid table, structured observation checklist, structured interview, and researchers’ paintings. Delphi technique was applied to collected data from artistic specialist. Data was analyzed in percentage. The findings revealed as follows. 1.Thoughts and contents in cubism painting of Stuart Davis between 1928-1932 A.D. reflected his impressive other locations mostly followed by placidity of town, relaxation places, and technology. Shapes were the most used elements in the paintings followed by values, lines, and dots. The overall composition was mostly found while intentional peripheral space and liner pospertive were also little used. The mostly used colours in every painting included white, dark blue, yellow, red, blue, orange, pink, green, brown, and grey in intense tone. Flat wash was used rather than texture colouring. 2. The creation of the painting entitled “The Cityscape of Korat in Acrylic” was inspired by thoughts and contents in relation to placidity of town. As for painting visual elements, shapes were mostly used while values, lines, and dots were moderately used. Overall composition was mostly adopted rather than liner prospective and intentional peripheral space. The mostly used colours in every painting included white, dark blue, yellow, red, blue, orange, pink, green, brown, and grey in intense tone. Flat painting technique was mostly used while texting technique was used someareas.
Keywords: Landscape of Korat, Cubism, Stuart Davis
Keywords: Landscape of Korat, Cubism, Stuart Davis
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
พีระพงษ์ กุลพิศาล
โกสุม สายใจ
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2558
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 750 จ791ท 2558
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2558
คอลเลกชั่น
เจียมรัตน์ ปานอุบล . (2558). ทิวทัศน์เมืองโคราช กรณีศึกษาผลงานจิตรกรรม ของสจวร์ต เดวิส ระหว่างปี ค.ศ.1928-1932. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1418