การพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่าน - การคิด เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Item

ชื่อเรือง

การพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่าน - การคิด เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ชื่อเรื่องรอง

The Development of Reading-Thinking Instruction Model for Enhancing Reading Comprehension of Prathomsuksa 5 Students

ผู้แต่ง

รัฐรวี สุขฤทัยในธรรม

หัวเรื่อง

การศึกษาและการสอน

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่าน–การคิด เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 2) เปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนกลวิธีการอ่าน–การคิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปัญญาศักดิ์ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอนกลวิธีการอ่าน–การคิด เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 3) เนื้อหาของรูปแบบ 4) กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบและ 5) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ 2. ความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการสอนกลวิธีการอ่าน–การคิด สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ : รูปแบบการสอน, กลวิธีการอ่าน-การคิด

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to develop reading-thinking instruction for enhancing reading comprehension of Prathomsuksa 5 students and 2) to compare between reading comprehension before and after using reading-thinking instruction. The sample included 42 Prathomsuksa 5 students at Panyasak School, Burana District, Bangkok in the 2nd semester of academic year 2013. The research instruments consisted of lesson plan and achievement test. Data was statistically analyzed in mean, standard deviation, and t-test. The findings revealed as follows: 1. The reading-thinking instruction for enhancing reading comprehension of Prathomsuksa 5 students delineated the following five components i.e. 1) concept 2) objectives 3) contents 4) teaching methods and 5) learning outcomes. 2. The reading comprehension of Prathomsuksa 5 students after using reading-thinking instruction was significantly higher than that before the experiment at .01 level.

Keywords: Instruction Model, Reading-Thinking Technique

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

วิโฬฏฐ์ วัฒนานิมิตรกูล
สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2557

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 371.102 ร357ก 2557

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2557

คอลเลกชั่น

รัฐรวี สุขฤทัยในธรรม . (2557). การพัฒนารูปแบบการสอนกลวิธีการอ่าน - การคิด เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1426

นำออกข้อมูล :