การบริหารงานของสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Item

ชื่อเรือง

การบริหารงานของสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

ชื่อเรื่องรอง

The Administration of Music Program under Humanities
and Social Sciences of Ubon Ratchathani Rajabhat University

ผู้แต่ง

คชสีห์ เจริญสุข

หัวเรื่อง

ดนตรี--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารจัดการ ของสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการของของสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 10 คน และผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การศึกษาเอกสาร ข้อมูลทุติยภูมิ และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการของสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ใช้กระบวนการบริหารงาน POSDCoRB ของ Luther Gulick สภาพวัฒนธรรมองค์กรแบบมุ่งความสัมพันธ์ ส่งผลให้บุคลากรปฏิบัติงานอย่างมีความสุข ผู้บริหารตัดสินใจสั่งการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดให้บุคลากรปฏิบัติงานตามความชำนาญงานในสภาพความแตกต่างระหว่างบุคคล เปิดโอกาสให้บุคลากรได้แสดงความคิดเห็น การบริหารงบประมาณมีเหมาะสมตามสถานการณ์ ปัญหาในการบริหารงานคือ งบประมาณสนับสนุนมีน้อย การแก้ไขปัญหาโดยการวางแผนระยะยาวให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการของสาขาวิชาดนตรีฯ ประกอบด้วย (1) ขาดงบประมาณสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนที่มีคุณภาพมีราคาแพง (2) มีภาวะการแข่งขันกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เปิดสอนสาขาวิชาดนตรี

คำสำคัญ : การบริหารจัดการ, สาขาวิชาดนตรี

บทคัดย่อ

The purposes of this research were to study 1) the administration of Music Program under Humanities and Social Sciences of Ubon Ratchathani Rajabhat University and 2) the factors affecting of the administration of Music Program. Target group included 10 of full-time and equivalent staff of Music Program and other 2 administrators. Data was collected using study of secondary document and in-depth interview, and was descriptively analyzed. The findings revealed as follows: 1) POSDCoRB administration process, proposed by Luther Gulick, was adopted in the administration of Music Program. Comfortable working atmosphere was raised by commitment-based organization. The administrators’decision was effectively made and led to putting the right man to the right position in relation to his/her individual proficiency. Opinion was freely expressed. Budget was situationally managed. The problems involved insufficient budget. The solution of which referred to long-term planning in line with university’s strategies. 2) The factors affecting the administration of Music Program included (1) lack of subsidies for learning materials at high cost and (2) competition with either private-run or public institutes.

Keywords : Administration, Music Program

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

มนัส วัฒนไชยยศ
อนุรักษ์ บุญแจะ

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2557

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 378.1 ค117ก 2557

ภาษา

tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ดนตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2557

คอลเลกชั่น

คชสีห์ เจริญสุข . (2557). การบริหารงานของสาขาวิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1432

นำออกข้อมูล :