การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนภาษาจีนในประเทศไทย
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนภาษาจีนในประเทศไทย
ชื่อเรื่องรอง
The Development of Management Model for Private Teaching Chinese School in Thailand
ผู้แต่ง
วรวิทย์ สุขะวัชรินทร์
หัวเรื่อง
การบริหารการศึกษา
การบริหารจัดการ
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา แนวทางพัฒนาและความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนในประเทศไทย 2)พัฒนารูปแบบและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนในประเทศไทย และ3)ประเมินความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบไปใช้จริงในการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนในประเทศไทย ดำเนินการวิจัยแบบผสานวิธี 3 ขั้นตอน ตามวัตถุประสงค์ ประชากรเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารงานโรงเรียนเอกชน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วยกลุ่มผู้รู้ กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั่วไป จำนวน 95 คน กลุ่มผู้ร่วมปฏิบัติการพัฒนารูปแบบเป็นผู้แทนกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้ง 3 กลุ่ม จำนวน 55 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยสุ่มจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสนทนากลุ่ม แบบปฏิบัติการและแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย ใช้ฉันทามติและการสร้างข้อสรุป พร้อมกับตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น ความต่างของฐานนิยมและมัธยฐาน (Mo-Md) และพิสัยควอไทล์ (QD) เป็นสถิติในการวิเคราะห์ กำหนดเกณฑ์ความคิดเห็นที่เป็นฉันทามติของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายในการนำรูปแบบไปใช้ ที่ Mo-Mdไม่เกิน 1.00 และพิสัยควอไทล์ (Q.D)ไม่เกิน 1.5 ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนในประเทศไทยเป็นโรงเรียนเอกชนในระบบ เป็นนิติบุคคล เปิดสอนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 บริหารงานในรูปคณะกรรมการในสองเป้าหมายที่ก้ำกึ่งระหว่างการให้บริการทางการศึกษากับการสร้างความมั่นคงทางธุรกิจ อำนาจการตัดสินใจไม่เบ็ดเสร็จ การพัฒนาจึงเป็นไปอย่างประนีประนอม ปัญหาโรงเรียน คือ การลดลงของผู้เรียน เงินอุดหนุนไม่พอพัฒนา กฎระเบียบรัดตัว ขาดผู้นำการเปลี่ยนแปลง สร้างความเป็นเลิศท่ามกลางข้อจำกัด งานบริหารทั่วไปขาดประสิทธิภาพ ครูขาดความภาคภูมิใจ การเงินไม่โปร่งใส และขาดกลไกพัฒนา แนวทางในการพัฒนา คือ การจัดการบริหารแนวใหม่ ใช้วิกฤตสร้างความเป็นเลิศความต้องการ คือ การนำองค์กรที่ดี ครูมีความมุ่งมั่น การเงินโปร่งใสและมีกลไกเพิ่มประสิทธิภาพ 2. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนในประเทศไทย เป็นรูปแบบที่พัฒนาจากปัญหาและความต้องการของโรงเรียน โครงสร้าง 3 ส่วน ประกอบด้วยส่วนความสำเร็จที่เป็นเป้าประสงค์ที่สมดุลทั้ง คุณภาพ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและการพัฒนาองค์การรวม15 ปัจจัยหลักความสำเร็จและ 15 ตัวชี้วัด ส่วนภารกิจและกลยุทธ์ เป็นส่วนวิธีการบริหารจัดการคัดสรรที่โรงเรียนต้องดำเนินการให้บรรลุเป้าประสงค์ใน5 ภารกิจ5 กลยุทธ์ประกอบด้วยการนำองค์กรที่ดี การเพิ่มประสิทธิภาพงานบริหารทั่วไป การพัฒนาคุณภาพทั้งโรงเรียนการพัฒนาสมรรถนะและวิชาชีพครู การเพิ่มประสิทธิภาพ ความโปร่งใสและความมั่นคงทางการเงิน รวม 20 มาตรการ73 วิธีการและส่วนกลไก ประกอบด้วยผู้รับผิดชอบ การจัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน การกำกับและประเมินผล และการจัดการความเสี่ยงเป็นกลไกขับเคลื่อนการบริหารจัดการ 3. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีนในประเทศไทยที่พัฒนาขึ้นทุกองค์ประกอบตามโครงสร้างรูปแบบได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายว่ามีความเป็นไปได้ในระดับมากในการนำไปใช้ในการบริหารจัดการได้จริงในโรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน
คำสำคัญ: รูปแบบการบริหารจัดการ, โรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน
คำสำคัญ: รูปแบบการบริหารจัดการ, โรงเรียนเอกชนสอนภาษาจีน
บทคัดย่อ
This research aimed: 1)to study the current situation, problem, improvement guidelines and management need of Private Teaching Chinese School in Thailand, 2)to developthe management model for Private Teaching Chinese School in Thailand and3) to evaluate the possibility of implementation of the management model for Private Teaching Chinese School in Thailand. Mixed-methods were adopted with three steps of procedures in accordance with the research objectives. The population includedthe Private Teaching Chinese Schools’ stakeholders. The informants consisted of groups of experts as key informants,groups of school personnel as casual informants and group of parents and others as general informants and ninety-fivewere selectedfor data collecting, fifty-five were selected tobethe workshop members and400 were the sample.Ten of interview guides, observation forms, focus group guidelines, workshop work sheet and questionnaire were used as the research tools. Data were analyzed through inductiveanalysis method,searching for unanimity and summarization. Quantitative data were statisticallyanalyszed through mean, standard deviation, need index,Mo-Mdwithin 1.00 and Q.D. within 1.5
The results were as follows:
1.Private Teaching Chinese Schools in Thailandwere formal school and legalorganizationwith management in compliance with Basic Education Core Curriculum of ThailandB.E. 2551. The school management was conducted by school committee with two alternative targets: quality education services and rich enterprise. The administrative power was not absoluteresultingin compromising development. Their main administrative problems included student decreasing, insufficient budgeting, rare dexterity due to regulation complexity andlackof transformation of leader, constructing school excellence amongst limited surrounding, inefficient general management,poor teachers’ pride, transparency of fiscal and lack of management mechanism. Their improvement guidelines in corporated neo-management- making an excellence of crisis. The needs included good leadership, endeavored teachers, transparent finance, and mechanism of effectiveness increase.
2. The management model for Private Teaching Chinese School was developed from schools’ problems and needs. These factors referred to expected success with balance amongquality, effectiveness, efficiency and school innovation increase, including fifteen CSFS of school developmentwithfifteen KPIS.Five missions and strategies were considered as selective methods contributing to reach the fivefold goals i.e.good leadership, increase of management effectiveness, development of whole school quality, development of competence and teaching profession, and increase of financial effectiveness, transparency and stability in total twenty measures with seventy-threeactivities. The staff on duty should be appointed as well as operational manual, monitoring and evaluation, and risk management as development drive mechanism.
3. The developed management model for Private Teaching Chinese Schoolin all model component was recognized for its possibility at high level of authentically implementation at educational institutions.
Keywords:Management Model, Private Teaching Chinese School
The results were as follows:
1.Private Teaching Chinese Schools in Thailandwere formal school and legalorganizationwith management in compliance with Basic Education Core Curriculum of ThailandB.E. 2551. The school management was conducted by school committee with two alternative targets: quality education services and rich enterprise. The administrative power was not absoluteresultingin compromising development. Their main administrative problems included student decreasing, insufficient budgeting, rare dexterity due to regulation complexity andlackof transformation of leader, constructing school excellence amongst limited surrounding, inefficient general management,poor teachers’ pride, transparency of fiscal and lack of management mechanism. Their improvement guidelines in corporated neo-management- making an excellence of crisis. The needs included good leadership, endeavored teachers, transparent finance, and mechanism of effectiveness increase.
2. The management model for Private Teaching Chinese School was developed from schools’ problems and needs. These factors referred to expected success with balance amongquality, effectiveness, efficiency and school innovation increase, including fifteen CSFS of school developmentwithfifteen KPIS.Five missions and strategies were considered as selective methods contributing to reach the fivefold goals i.e.good leadership, increase of management effectiveness, development of whole school quality, development of competence and teaching profession, and increase of financial effectiveness, transparency and stability in total twenty measures with seventy-threeactivities. The staff on duty should be appointed as well as operational manual, monitoring and evaluation, and risk management as development drive mechanism.
3. The developed management model for Private Teaching Chinese Schoolin all model component was recognized for its possibility at high level of authentically implementation at educational institutions.
Keywords:Management Model, Private Teaching Chinese School
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด
สรายุทธ์ เศรษฐขจร
คมศร วงษ์รักษา
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2557
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 371.2 ว281ก 2557
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2557
คอลเลกชั่น
วรวิทย์ สุขะวัชรินทร์ . (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนเอกชนภาษาจีนในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1438