รูปแบบการจัดการกรีนไอทีเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
Item
ชื่อเรือง
รูปแบบการจัดการกรีนไอทีเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยราชภัฏ
ชื่อเรื่องรอง
Green IT Management Model for Electrical Energy Saving of Rajabhat Universities
ผู้แต่ง
อรพิมพ์ มงคลเคหา
หัวเรื่อง
พลังงานไฟฟ้า -- การประหยัด
การประหยัดพลังงาน
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพทั่วไปการจัดการกรีนไอที ด้านนโยบาย ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) พัฒนารูปแบบการจัดการกรีนไอทีเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดการกรีนไอทีเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง 6 คน ผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ 25 คน และบุคลากรผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 713 คน ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 แห่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการวิจัยมี 2 แบบ คือ แบบสอบถามสำหรับศึกษาสถานภาพทั่วไปการจัดการกรีนไอที และแบบประเมินระดับการดำเนินงานการจัดการกรีนไอที ทำการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามวัตถุประสงค์ของเครื่องมือทั้ง 2 แบบ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.71 – 1.00 และวิเคราะห์หาความเชื่อมั่นโดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟา มีค่าเท่ากับ 0.847 และ 0.836 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และฐานนิยม ผลการวิจัยพบว่า 1. สถานภาพทั่วไปเกี่ยวกับนโยบายด้านการจัดการกรีนไอทีที่มหาวิทยาลัยราชภัฏ ส่วนใหญ่ที่กำหนดไว้ คือ วงชีวิตอุปกรณ์ไอที การวัด ติดตาม และประเมินผลการใช้พลังงานไฟฟ้า และ การใช้ไอทีเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ตามลำดับ ส่วนนโยบายที่ยังไม่ได้กำหนดไว้ ได้แก่ การบริหารจัดการศูนย์ข้อมูลเพื่อการประหยัดพลังงาน และแนวปฏิบัติผู้ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ทราบข้อมูลรายจ่ายและการตรวจวัดการใช้พลังงานไฟฟ้า ในภาพรวมมีความรู้ด้านกรีนไอที และพฤติกรรมกรีนไอทีอยู่ในระดับปานกลาง และมีทัศนคติกรีนไอทีอยู่ในระดับมาก 2. รูปแบบการจัดการกรีนไอทีเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นแบบประเมินระดับการดำเนินงานด้านการจัดการกรีนไอทีประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 120 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ 1) การใช้ไอทีเพื่อลดการปลดปล่อยปริมาณคาร์บอน มี 29 ตัวบ่งชี้ 2) การบริหารจัดการศูนย์ข้อมูล มี 36 ตัวบ่งชี้ 3) ผู้ใช้งานไอที มี 28 ตัวบ่งชี้ 4) วงชีวิตอุปกรณ์ไอที มี 9 ตัวบ่งชี้ และ 5) ตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านกรีนไอทีมี 18 ตัวบ่งชี้ 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการกรีนไอทีเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยราชภัฏ พบว่า ในภาพรวมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 6 แห่งในกรุงเทพมหานครมีระดับการดำเนินการจัดการกรีนไอทีเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าอยู่ในระดับต้องปรับปรุง โดยองค์ประกอบที่ต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน คือ การกำหนดตัวชี้วัดการดำเนินงานด้านกรีนไอที คำสำคัญ: รูปแบบการจัดการกรีนไอที การประหยัดพลังงานไฟฟ้า มหาวิทยาลัยราชภัฏ
บทคัดย่อ
This research aimed to 1) study the general condition of Green Information Technology (Green IT) regarding policies, knowledge, attitudes and behaviors of Rajabhat Universities in using electrical energy for Information Technology, 2) develop Green IT management model for electrical energy saving in Rajabhat Universities and 3) implement the Green IT management model for electrical energy saving in Rajabhat Universities. The data were collected from three groups of samples; namely, six samples from the Chief Information Officers (CIO), twenty-five samples from IT administrators, and 713 samples from IT users from six Rajabhat Universities in Bangkok. Three set of questionnaires were employed for data collection. The statistic used for data analysis included frequencies, percentage, mean, standard deviation, and mode. The findings were as follows : 1. The general condition of Green Information Technology (Green IT) regarding policies designated by majority of Rajabhat Universities included IT equipment life cycle, measurement, monitoring, and appraisal of electricity consumption and also utilization of IT to reduce the carbon dioxide emission, respectively. The unendorsed policies included the management of Information Center for energy saving as well as the general procedure guidelines for IT users. The majority of the respondents did not expose to the information of the expenditures and the units of power consumption. As a whole, the knowledge and behaviors regarding Green IT were reported at a medium level while the attitudes towards Green IT were perceived at a high level. 2. The Green IT management model for electrical energy saving of Rajabhat Universities comprised five components with 120 indicators; namely, 1) IT application to reduce carbon dioxide emission with twenty-nine indicators, 2) the management of Data Center with thirty-six indicators, 3) IT users with twenty-eight indicators, 4) IT equipment life cycle with nine indicators, and 5) the key performance indicators of Green IT operation with eighteen indicators. 3. The results gained from having experimented the Green IT Model for electrical energy saving of six Rajabhat Universities in Bangkok revealed that the operation of the Green IT for electrical energy saving was rated at the improvement level. The component which needed urgent improvement was to identify the key performance indicators related to the operation of Green IT. Keywords: Green IT Management Model, Electrical Energy Saving, Rajabhat Universities
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ.
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
จันทร์วิภา ดิลกสมัพันธ์
ปานใจ ธารทัศนวงศ์
สมบัติ ฑีฆทรัพย์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2559
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 333.793 อ336ร 2559
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ปริญญาเอก
การจัดการเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2559
คอลเลกชั่น
อรพิมพ์ มงคลเคหา . (2559). รูปแบบการจัดการกรีนไอทีเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในมหาวิทยาลัยราชภัฏ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1473