จิตรกรรมนามธรรม เส้นและสี: กรณีศึกษาผลงานของวาซิลี คันดินสกี ระหว่างปี ค.ศ. 1910 - 1922

Item

ชื่อเรือง

จิตรกรรมนามธรรม เส้นและสี: กรณีศึกษาผลงานของวาซิลี คันดินสกี ระหว่างปี ค.ศ. 1910 - 1922

ชื่อเรื่องรอง

Lines and Colours-based Abstract Painting: A Case Study of Paintings by Wassily Kandinsky During 1910-1922 A.D.

ผู้แต่ง

พลวิษณ์ สุภารี

หัวเรื่อง

จิตรกรรม

รายละเอียดอื่นๆ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลงานจิตรกรรมนามธรรมของวาซิลี คันดินสกีระหว่าง ค.ศ. 1910-1922 ในประเด็นแนวคิด การจัดองค์ประกอบ ชุดสีและเทคนิคการระบายสี 2) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมนามธรรมเส้นและสี: กรณีศึกษาผลงานของวาซิลี คันดินสกี ระหว่าง ค.ศ. 1910-1922 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผลงานจิตรกรรมของ วาซิลี คันดินสกี จำนวน 7 ภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตแบบมีโครงสร้าง แบบวิเคราะห์ ตารางกริด แบบสัมภาษณ์มีโครงสร้าง ผลงานสร้างสรรค์ของผู้วิจัยและแบบประเมินคุณภาพ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิคเดฟายประยุกต์ และสถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละและค่าเฉลี่ย ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ประเด็นแนวคิด พบว่า ส่วนประกอบที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ ทิวทัศน์และภูเขาโขดหินรองลงมา คือ พืช อาคาร มนุษย์ และสัตว์ ตามลำดับ การตัดทอนรูปทรงที่ใช้มากที่สุด คือ ตัดทอนเป็นรูปทรงอิสระ ประเด็นการจัดองค์ประกอบ ใช้มากคือ จัดภาพโดยไม่มีหลักการ รองลงมาจัดภาพแผ่กระจายทั่วทั้งภาพและให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวปานกลาง ตามลำดับ ประเด็นชุดสี พบว่าสีที่ใช้มาก คือ สีขาว รองลงมาสีดำ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน สีฟ้า สีส้ม สีน้ำตาลและสีม่วงตามลำดับ ประเด็นเทคนิคการระบายสี เทคนิคที่ใช้มาก คือ การระบายสีแบบเรียบกลมกลืนรองลงมา การระบายสีแบบทิ้งรอยแปรงของพู่กัน ตามลำดับ 2. การสร้างสรรค์ผลงานผู้วิจัย ประเด็นแนวคิดเกี่ยวกับส่วนประกอบของภาพใช้มากที่สุดได้แก่ ทิวทัศน์และภูเขาโขดหิน รองลงมา คือ พืช อาคาร มนุษย์และสัตว์ ตามลำดับ การตัดทอนรูปทรง คือ เป็นรูปทรงอิสระ ประเด็นการจัดองค์ประกอบ ใช้วิธี จัดภาพแบบแผ่กระจายทั่วทั้งภาพ รองลงมาคือ จัดภาพโดยไม่มีหลักการ และให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวปานกลาง ตามลำดับ ประเด็นชุดสี ที่ใช้คือ สีขาว รองลงมาสีดำ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน สีฟ้า สีส้ม สีน้ำตาลและสีม่วงตามลำดับ ประเด็นเทคนิคการระบายสี ได้แก่ การระบายสีแบบเรียบกลมกลืน รองลงมา การระบายสีแบบทิ้งรอยแปรงของพู่กัน การระบายสีแบบลบขอบ ตามลำดับ คำสำคัญ : จิตรกรรมนามธรรม เส้นและสี ทิวทัศน์

บทคัดย่อ

The purposes of this research were 1) to study the abstract paintings by Wassily Kandinsky During 1910-1922 A.D. in terms of concept, composition, colours, and painting technique and 2) to create the lines and colours-based painting: a case study of painting s by Wassily Kandinsky During 1910-1922 A.D. The sample included 7 Wassily Kandinsky’s paintings. The research instruments involved structured observation form, Grid Table, structured interview, researcher’s painting, and quality assessment form. Data were collected from the specialists through Delphi technique, and were statistically analyzed in percentage and MEAN and descriptively analyzed. The findings revealed as follows. 1. The mostly found concept in Wassily Kandinsky’s paintings referred to landscape mountain and rocks followed by plants, buildings, human, and animals. Free-form subtraction was indicated as the mostly used distortion. The symmetry balance was the mostly adopted composition prior to free composition and rhythmic composition. The mostly employed colours delineated white followed by black, green, yellow, red, navy blue, and blue. Flat painting was mostly used as the painting technique followed by brush stroke. 2. The researcher’s paintings employed the concept of landscape mountain and rocks followed by plants, buildings, human, and animals. Free-form subtraction was indicated as the mostly used distortion. The symmetry balance was the mostly adopted composition prior to free composition and rhythmic composition. The mostly employed colours delineated white followed by black, green, yellow, red, navy blue, and blue. Flat painting was mostly used as the painting technique followed by brush stroke and border removal. Keywords: Abstract Paintings, Lines and Colours, Landscape

Table Of Contents

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน

พีระพงษ์ กุลพิศาล
สมชาย พรหมสุวรรณ
ประไพ วีระอมรกุล

วันที่ ปีที่จัดพิมพ์

2559

วันที่ผลิต วันที่จัดทำ

2021-08-09 06:57:07

วันที่ปรับปรุงข้อมูล

2021-08-09 06:57:07

ประเภท

thesis

รูปแบบ

application/pdf

แหล่งที่มา

วน 750 พ444จ 2559

ภาษา

Tha

รหัส

ลิขสิทธิ์

มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

Degree (name, level, descipline, grantor)

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ศิลปกรรม
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

วันที่ใช้งาน

2559

คอลเลกชั่น

พลวิษณ์ สุภารี . (2559). จิตรกรรมนามธรรม เส้นและสี: กรณีศึกษาผลงานของวาซิลี คันดินสกี ระหว่างปี ค.ศ. 1910 - 1922. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1500

นำออกข้อมูล :