การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการสอนอ่านเชิงวิเคราะห์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Item
ชื่อเรือง
การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการสอนอ่านเชิงวิเคราะห์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ชื่อเรื่องรอง
The Development of Constructivism-based Instruction with Analytical Reading Teaching to Enhance Critical Reading Skill for Matthayomsuksa 2 Students
ผู้แต่ง
อานันย์ สุชิตกุล
หัวเรื่อง
การอ่านขั้นมัธยมศึกษา
การพัฒนาหลักสูตร
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง
การอ่านเชิงวิเคราะห์
ความคิดอย่างมีวิจารญาณ
ทฤษฎีสรรคนิยม
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการสอนอ่านเชิงวิเคราะห์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนนนท์ประสิทธ์วิทยา จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก มีค่าความยาก ระหว่าง 0.02-0.08 มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.4-0.95 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ร่วมกับการสอนอ่านเชิงวิเคราะห์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 1) ทฤษฎี /หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ ซึ่งมุ่งเน้นให้ผู้เรียนค้นพบความรู้ด้วยตนเอง โดยการลงมือปฏิบัติจริง เกิดความสามารถในการวิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์หลักการ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ และวิเคราะห์หลักการ 3) กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำสู่บทเรียน ขั้นที่ 2 ขั้นเรียนรู้สาระและแจกแจงข้อมูล ขั้นที่ 3 ขั้นสังเคราะห์ขั้นที่ 4 ขั้นสรุปสาระ และ 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์ความสำคัญ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ วิเคราะห์หลักการ 2) ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
คำสำคัญ: รูปแบบการสอน ,การสร้างความรู้ด้วยตนเอง, การอ่านเชิงวิเคราะห์
คำสำคัญ: รูปแบบการสอน ,การสร้างความรู้ด้วยตนเอง, การอ่านเชิงวิเคราะห์
บทคัดย่อ
The purposes of this quasi-experimental research were 1) to develop the constructivism-based instruction with analytical reading teaching to enhance critical reading skill for Matthayomsuksa 2 students and 2) to compare critical reading skill of Matthayomsuksa 2 students between before and after learning through the developed instruction. The sample included Matthayomsuksa 2/2 students from Nonprasitwittaya School obtained through cluster random sampling. The research instrument involved lesson plans and 4 multiple choice test of critical reading skill with p = 0.02-0.08, r = 0.4-0.95 and = 0.86. Data were collected in the 2nd semester of academic year 2015 and were statistically analyzed in MEAN, standard deviation and t-test. The findings revealed as follows. 1. The components of constructivism-based instruction with analytical reading teaching to enhance critical reading skill for Matthayomsuksa 2 students delineated 1) theory/principle/concept focusing on self-directed learning via practice to gain the analytical thinking about the importance, relation, and principle 2) objectives focusing on analytical thinking about the importance, relation, and principle 3) learning activities with four steps: step 1 – introduction; step 2 – learning and elaborating; step 3 – synthesis and step 4 – evaluation and 4) learning outcomes focusing on analytical thinking about the importance, relation, and principle. 2. The critical reading skill of Matthayomsuksa 2 students after learning through constructivism-based instruction with analytical reading teaching was higher than that before the experiment at significance level .01.
Keywords: Instruction, Constructivism, Critical Reading
Keywords: Instruction, Constructivism, Critical Reading
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
เพ็ญพร ทองคำสุก
บังอร เสรีรัตน์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2559
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
ประเภท
thesis
รูปแบบ
application/pdf
แหล่งที่มา
วน 373.236 อ624ก 2559
ภาษา
tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
หลักสูตรและการสอน
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2559
คอลเลกชั่น
อานันย์ สุชิตกุล . (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับการสอนอ่านเชิงวิเคราะห์เพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1522