การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการกิจกรรมวงโยธวาทิตโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวังนนทบุรีและโรงเรียนหอวังกรุงเทพฯ
Item
ชื่อเรือง
การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการกิจกรรมวงโยธวาทิตโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวังนนทบุรีและโรงเรียนหอวังกรุงเทพฯ
ชื่อเรื่องรอง
A comparative study the military band management of Nawamintharachinuthid Horwang Nonthaburi School and Horwang School
ผู้แต่ง
ศักดา ทองทิพย์มาก
หัวเรื่อง
ดนตรี -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
วงโยธวาทิต
รายละเอียดอื่นๆ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการวงโยธวาทิตโรงเรียน นวมินทราชินูทิศ หอวังนนทบุรี และโรงเรียนหอวังกรุงเทพฯ ที่ส่งผลต่อผลงานของวงโยธวาทิต งานวิจัยนี้ใช้หลักทฤษฎีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบศึกษาเปรียบเทียบนำมาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ โดยการเก็บข้อมูลจาก ผู้บริหาร อาจารย์ผู้ควบคุมวงโยธวาทิต และคณะกรรมการวงโยธวาทิตโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวังนนทบุรี และโรงเรียนหอวังกรุงเทพฯ จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้ส่วนใหญ่เป็นแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยโดยการพิจารณาจากหลักการบริหารองค์การพื้นฐาน 4 ด้าน พบว่าทั้งสองโรงเรียนมีกลยุทธการบริหารจัดการที่คล้ายกัน มีจำนวนและคุณภาพของอุปกรณ์เครื่องดนตรีที่ใกล้เคียงกัน ข้อแตกต่างระหว่างสองโรงเรียนนี้อยู่ที่ด้านบุคลากรและงบประมาณ คือผู้ควบคุมวงของโรงเรียนหอวังกรุงเทพฯ มีประสบการณ์การทำงาน 30 ปี ในขณะที่ผู้ควบคุมวงโรงเรียน นวมินทราชินูทิศ หอวังนนทบุรีมีประสบการณ์การทำงาน 10 ปี ปัจจัยนี้จึงส่งผลให้ผลงานของโรงเรียน หอวังกรุงเทพฯ มีมากกว่าของโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวังนนทบุรีรวมถึงการบริหารจัดการที่เป็นระบบมากกว่าในขณะที่โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวังนนทบุรีมีงบประมาณสนับสนุนวงโยธวาทิตมากกว่าโรงเรียนหอวังกรุงเทพฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงบประมาณที่ได้รับจากภายนอกโดยปัจจัยนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวังนนทบุรี มีผลงานที่มากขึ้นในระยะหลัง คำสำคัญ: การบริหารจัดการ วงโยธวาทิต การศึกษาเปรียบเทียบ
บทคัดย่อ
The objective of this research is to study the marching band administrative factors that affect their output performance. The qualitative and casual comparative study research theory was deployed as a research analysis tool. Two secondary schools were chosen as samples, those are Nawamintharachinuthit Horwang Nonthaburi School and Horwang School. The data from each school was obtained from fourteen school members, which includes school administrators, teachers, and marching band members. Data collection tool was mostly by interviewing and questionnaires. The result was presented and discussed in the descriptive format. The results based on 4M’s management found that both school share similarly management strategy and comparable amount and quality of the instrument. However, couple differences were found on man and money issues. One is the working experience of marching band supervisor of Horwang School and Nawamintharachinuthit School are 30 years and 10 years, respectively. This factor make Horwang School has an advantage on performance than Nawamintharachinuthit School. Two is financial support of Nawamintharachinuthit School is greater than Horwang school, which mostly come from external sources. This is a critical factor that accelerate Nawamintharachinuthit School performance on the recent years. Keywords: Management, Marching Band, Comparative study
ผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
ผู้ร่วมสร้างรรค์ ผู้ร่วมงาน
อนุรักษ์ บุญแจะ
พนัง ปานช่วย
พีระพงษ์ ธีระเผ่าพงษ์
วันที่ ปีที่จัดพิมพ์
2561
วันที่ผลิต วันที่จัดทำ
2021-08-09 06:57:07
วันที่ปรับปรุงข้อมูล
2021-08-09 06:57:07
รูปแบบ
thesis
แหล่งที่มา
วน 371.207 ศ 321 ก 2561
ภาษา
Tha
ลิขสิทธิ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
Degree (name, level, descipline, grantor)
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
ปริญญาโท
ดนตรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วันที่ใช้งาน
2561
คอลเลกชั่น
ศักดา ทองทิพย์มาก . (2561). การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการกิจกรรมวงโยธวาทิตโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวังนนทบุรีและโรงเรียนหอวังกรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, คลังข้อมูลดิจิทัล สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ, accessed November 24, 2024, http://202.29.54.157/s/library/item/1579